เกิดความรุนแรงในวัด ‘พระทำร้าย สามเณรตบสลบคาวัด’

23 กรกฏาคม 2567 มีญาติของสามเณร ได้มีการแอบถ่ายคลิปพระท่านหนึ่ง คือ หลวงยุทธิ์ ที่กำลังทำร้ายร่างกายสามเณอายุ 15 ปี โดยการตบ ตี กดหัว จับหัวโคกพื้นและใช้คำด่าทออย่างรุนแรง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่วัดกมลศรี อ.กะลาเส จ.ตรัง และมีสามเณรอีก 2 คนคอยยืนดู พระท่านนี้ หลวงยุทธิ์ ได้ตบสามเณรจนสลบคามือ มีรอยบีบช้ำขึ้นตามร่างกาย

ทีมงานข่าวได้ลงพื้นที่ สอบถามสามเณรอายุ 15 ปีที่ถูกทำร้ายว่า ‘ บวรเรียนเป็นพระมาได้ 2 ปีแล้วเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตนเองได้ไปช่วยงานที่วัดอื่นและจะทำร้ายบ่อยเป็นประจำโดนแม้กระทั่ง ตบหู ตบปาก เล็บจิกหน้า บิดหูและถูกข่มขู่ให้ทำงานหนักมาตลอด

เกิดเหตุล่าสุด ! สามเณรบิณฑบาตรกลับมาตอนเช้า ตนได้นำสิ่งของที่บิณฑบาตรมาได้มาวางไว้ที่ฉันท์ จู่ๆหลวงพี่ยุทธิ์ เดินมาหยิบหนังสือของสามเณรอีกรูปหนึ่งไปและเขวี้ยงใส่หน้า จากนั้นก็ลงมือทำร้ายจนสลบคามือหลับนานไป 15 นาที

สาเหตุที่สามเณรไปอยู่วัดนั้นเนื่องจาก หลวงพี่ยุทธิ์มาร้องขอพระอธิการยุทธศักดิ์ ธรรมปาโล เจ้าอาวาสวัดทุ่งใหญ่ อยากจะขอสามเณร 3 ท่านไปช่วยงานที่วัดโดยอ้างว่าหากวัดมีสามเณรและพระหลายรูปก็จะทำให้มีคนมาทำบุญและหรือไปงานกิจนิมนต์ต่างๆมากขึ้น

ล่าสุดมีรายงานว่า พระอธิการยุทธศักดิ์ได้แจ้งให้เจ้าคณะอำเภอและเจ้าคณะตำบลทราบถึงเหตุการณ์นี้แล้ว เพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรกับพระรูปนี้ รวมถึงการหาทางเยียวยาสภาพจิตใจของสามเณรนอกจากนี้ ยังมีการตัดสินใจว่าจะไม่ส่งสามเณรไปอยู่ที่วัดกมลศรีอีกต่อไป เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
นางประทุม ซึ่งเป็นญาติของสามเณรเบล ได้กล่าวว่าทุกคนที่เห็นคลิปเหตุการณ์ต่างรู้สึกทนไม่ได้กับการกระทำของพระที่ทำร้ายสามเณรเช่นนี้ นางประทุมเปิดเผยว่าพระที่ก่อเหตุได้เสนอจะเยียวยาสามเณรเบลเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทหลังออกพรรษา แต่เธอและชาวบ้านคนอื่น ๆ ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าวนางประทุมระบุว่าหากต้องการเยียวยาสภาพจิตใจของสามเณรเบลจริง ๆ ควรดำเนินการภายในระยะเวลา 15 วัน เพื่อให้การเยียวยาเกิดขึ้นอย่างทันท่วงทีและมีความหมาย

ในเรื่องของการเอาผิดพระรูปนั้น นางประทุมกล่าวว่า ควรปล่อยให้เป็นไปตามดุลยพินิจของพระฝ่ายปกครองและผู้นำชุมชนของวัดกมลศรี อย่างไรก็ตาม เธอแสดงความกังวลว่าหากพระรูปนี้ถูกสึกออกไป อาจไปก่อเหตุรุนแรงในที่อื่นอีกและนางประทุมยังสงสัยว่าพระรูปนั้นอาจเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงต้องการให้มีการตรวจสอบอย่างชัดเจนเพื่อความแน่ใจและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีขึ้นอีก